เภสัชวิทยา
เกี่ยวกับเรา
ประวัติภาควิชาฯ
ภาควิชาเภสัชวิทยาในระยะเริ่มแรกนั้นยังไม่มีอาจารย์ประจำภาควิชา มีแต่รักษาการหัวหน้าภาคฯ คือศ.พ.ท.น.สพ. หลวงชัยอัศวรักษ์ หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2485 เมื่อมีสัตวแพทยศาสตรบัณฑิตจบเป็นรุ่นที่ 2จึงมีอาจารย์ประจำภาควิชาคนแรกและดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกเภสัชวิทยาด้วย คือ อาจารย์ น.สพ. ม.ร.ว.ชนาญวัต เทวกุล การเรียนการสอนวิชาเภสัชวิทยาในระยะแรกเป็นการเรียน Materia Medica ตามแบบอย่างของประเทศอังกฤษและได้รับความร่วมมือจากคณะเภสัชศาสตร์ ช่วยสอนด้านเภสัชกรรมหรือการปรุงยา เมื่ออาจารย์ ม.ร.ว. ชนาญวัต เข้ามาเป็นอาจารย์จึงได้มีการปรับเปลี่ยนให้มีวิชาปฏิบัติการมากขึ้น และรับอาจารย์ที่จบเภสัชศาสตร์คืออาจารย์สุพิศ (ถมังรักษ์สัตว์) จินดาวณิค เข้ามาช่วยทั้งการสอนเภสัชกรรมและการปฏิบัติการด้านสรีรวิทยาและเภสัชวิทยา ต่อมาอาจารย์สุพิศย้ายไปสอนวิชาชีวเคมีซึ่งสังกัดภาควิชาสรีรวิทยา ประมาณปี พ.ศ. 2499 เมื่ออาจารย์ ม.ร.ว. ชนาญวัต ได้รับการติดต่อไปช่วยสอนวิชากายวิภาคศาสตร์ ที่คณะวิทยาศาสตร์ อาจารย์จึงได้ย้ายสังกัดและมีความก้าวหน้าในราชการเรื่อยมาจนเกษียณอายุในตำแหน่งศาสตราจารย์
อาจารย์ น.สพ.ประสงค์ เตมียาจล, M.R.C.V.S.* เข้ารับตำแหน่งอาจารย์ประจำ และดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกเภสัชวิทยาเป็นลำดับถัดมา จนเกษียณอายุราชการในตำแหน่งศาสตราจารย์เมื่อปี พ.ศ. 2511 ระยะนี้ภาควิชาฯได้รับโอนบุคลากรจากกรมปศุสัตว์เข้าดำรงตำแหน่งอาจารย์โทเมื่อปี พ.ศ. 2510 คือ อาจารย์ น.สพ.ดานิศ ทวีติยานนท์ โดยมีรักษาการหัวหน้าภาควิชาฯคือ ศ. มานิต พยัคฆนันทน์ ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาสัตวบาลในขณะนั้น เมื่อ ศ.มานิต พยัคฆนันทน์ เกษียณอายุราชการ อาจารย์ ดานิษ ซึ่งต่อมาได้รับทุนไปศึกษาณ ประเทศเดนมาร์ค และได้รับ Cert. in Vet Pharmacology จาก The Royal Agriculture and VeterinaryCollege เข้ารับตำแหน่งรักษาการหัวหน้าภาควิชาฯอยู่ช่วงหนึ่ง ก่อนดำรงตำแหน่งจริงใน ปี พ.ศ. 2516 จนถึง2526 และอีกช่วงหนึ่งระหว่างปี พ.ศ. 2531 – 2535 อาจารย์ดานิษถึงวาระเกษียณอายุราชการในตำแหน่งรองศาสตราจารย์เมื่อปี พ.ศ. 2540 ในช่วงเวลาที่ อ. ดานิษ ดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชา ได้ดำเนินการให้มีการเปลี่ยนแปลงการเรียนการสอนตามหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นโดยแบ่งการเรียนการสอนวิชาเภสัชวิทยาเป็นเภสัชวิทยาทั่วไปและเภสัชวิทยาทางสัตวแพทย์มีการแยกหน่วยกิตบรรยายและปฏิบัติอย่างชัดเจน แต่ยังรวมอยู่ในวิชาเดียวกัน มีการทดลองในห้องปฏิบัติการ และนำนิสิตออกภาคสนามทั้งการฝึกปฏิบัติบริหารยาในปศุสัตว์ชนิดต่างๆ และการเยี่ยมชมโรงงานยาเช่นที่เคยปฏิบัติมา และในระยะต่อมาได้แยกวิชาเภสัชวิทยาทั่วไปออกเป็น 2 วิชาคือ ภาคทฤษฎี (เภสัชวิทยา 1) และภาคปฏิบัติ (เภสัชวิทยา 2) โดยยังคงวิชาเภสัชวิทยาทางสัตวแพทย์ไว้ในชื่อเภสัชวิทยา 3 และเพิ่มวิชาพิษวิทยาเข้ามาในหลักสูตร นอกเหนือจากรายวิชาที่เพิ่มขึ้น จำนวนอาจารย์ในภาควิชาก็เพิ่มมากขึ้นตามจำนวนปีที่ผ่านไป ดังนี้พ.ศ. 2516 - อาจารย์ น.สพ.สมเกียรติ ทาจำปา เข้ารับราชการ ซึ่งต่อมาได้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจากประเทศเยอรมัน เคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาฯ ในช่วงปี พ.ศ. 2543 – 2547 รวมทั้งตำแหน่งรองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนาของคณะฯนอกจากนี้ยังเคยรับตำแหน่งผู้ช่วยอธิการบดีในช่วงปี พ.ศ. 2541 อีกด้วย ในระยะที่ อ. สมเกียรติเป็นหัวหน้าภาคฯได้มีการเปิดรายวิชา“การฝึกปฏิบัติด้านเภสัชวิทยาทางสัตวแพทย์” ให้กับนิสิตชั้นปีที่ 6 เมื่อปี พ.ศ. 2544 นับเป็นการเข้าสู่ยุคของ Clinical Pharmacology อย่างเต็มตัว หลังจากที่ได้มีการปูพื้นความคิดเรื่องนี้มาโดยตลอดจากอาจารย์ในยุคแรกๆ อ.สมเกียรติถึงวาระเกษียณอายุในตำแหน่งรองศาสตราจารย์ เมื่อ ปี พ.ศ. 2551
* Member of the Royal College of Veterinary Surgeon ประเทศอังกฤษ คนไทยที่ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพสัตวแพทย์ (M.R.C.V.S.) และมีสิทธิ์ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ในอังกฤษมี 6 ท่าน ได้แก่ ศ.พ.ท.น.สพ. หลวงชัยอัศวรักษ์, น.สพ. ไพโรจน์ (ลออ) คุ้มไพโรจน์, ศ.น.สพ. กำแหง พลางกูร, น.สพ. สำราญ วรรณพฤกษ์,ศ.น.สพ. ลำพูน ศศิบุตร์ และ ศ.น.สพ. ประสงค์ เตมียาจล
พ.ศ. 2518 - อาจารย์ สพ.ญ. วรา (จันทร์ศิริศรี) พานิชเกรียงไกร เข้ารับราชการซึ่งต่อมาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจากประเทศสหรัฐอเมริกา เคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาฯในช่วงปี 2527–2531, 2535 – 2539, 2539 – 2543 และ 2547 จนถึง 1 ก.พ. 2549-2552 ดำรงตำแหน่งรองคณบดีฝ่ายบริหารคณะสัตวแพทยศาสตร์ ในช่วงเวลาที่ อาจารย์วรา ดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาคฯ ได้มีการขยายความรับผิดชอบด้านการเรียนการสอนของภาควิชาเพิ่มเติมจากระดับปริญญาตรีในหลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต เป็นระดับปริญญาโท สหสาขาวิชาเภสัชวิทยาซึ่งเริ่มหลักสูตรในปี พ.ศ. 2531 และมีการปูพื้นฐานการร่างหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเภสัชวิทยาทางสัตวแพทยศาสตร์ อ. วราถึงวาระเกษียณอายุในตำแหน่ง รองศาสตราจารย์
เมื่อ ปี พ.ศ. 2552 พ.ศ. 2520 – อาจารย์ สุพัตรา (นวอภิศักดิ์) ศรีไชยรัตน์ ซึ่งต่อมาได้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจากประเทศเยอรมัน เคยดำรงตำแหน่งประธานหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สหสาขาวิชาเภสัชวิทยา ซึ่งเป็นหลักสูตรหลังปริญญาตรีที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างภาควิชาเภสัชวิทยาของคณะแพทยศาสตร์ คณะทันต-แพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์ มีการรับนิสิตที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพและวิทยาศาสตร์การแพทย์เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและขยายถึงปริญญาเอกในเวลาต่อมา อาจารย์ สุพัตรา ถึงวาระเกษียณอายุในตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ เมื่อ ปี พ.ศ. 2556
พ.ศ. 2535 – อาจารย์ สพ.ญ.ศิรินทร หยิบโชคอนันต์ เข้ารับราชการซึ่งต่อมาได้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจากประเทศสหรัฐอเมริกาดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาคฯในช่วงปี พ.ศ. 2549 และรองคณบดีปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสัตว์เล็ก ในปี พ.ศ. 2552 เป็นผู้ริเริ่มงานวิจัยเกี่ยวกับการใช้สมุนไพรเพื่อแก้ไขภาวะเบาหวานในสัตว์ จนผลงานได้รับรางวัลรัชดาภิเษกสมโภช ปี พ.ศ. 2547 และรางวัลผลงานวิจัย จากสภาวิจัยแห่งชาติเมื่อปี พ.ศ. 2549 นอกจากนี้ยังประยุกต์หลักการใช้ยาในระดับพื้นฐานเข้าสู่การใช้จริงในทางคลินิกซึ่งมีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการทั้งในระดับชาติและนานาชาติอย่างต่อเนื่องรวมทั้งตำราวิชาการอีกหลายเล่ม อ. ศิรินทร ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อปี พ.ศ. 2556 ในตำแหน่ง รองศาสตราจารย์
พ.ศ. 2537 – อาจารย์ สพ.ญ. ปิยะรัตน์ (ศุภชลัสถ์) จันทร์ศิริพรชัย เข้ารับราชการซึ่งต่อมาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจากประเทศญี่ปุ่น ดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาฯในช่วงปี พ.ศ. 2553-2556 และ ปี พ.ศ. 2556-2561เป็นผู้ที่สนใจการนำยาไปประยุกต์ใช้ในทางคลินิกโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ยารักษาโรคผิวหนังในสัตว์เลี้ยงซึ่งมีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการทั้งในระดับชาติและนานาชาติอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งตำราวิชาการอีกหลายเล่ม นอกจากนี้ อ.ปิยะรัตน์ ยังมีผลงานวิจัยด้านการใช้สมุนไพรในสัตว์โดยผลงานที่ได้รับรางวัล Nagai Award จากประเทศญี่ปุ่นคือการใช้เจลทุเรียนในการรักษาแผลในสัตว์
พ.ศ. 2537–อาจารย์ สพ.ญ. อนงค์ (โรจนโกมล) บิณฑวิหค โอนย้ายมาจากกรมปศุสัตว์ตำแหน่งผู้ชำนาญการพิเศษด้านตรวจสอบและวิเคราะห์ทางวิชาการสัตวแพทย์ (พิษวิทยา) กลุ่มงานพิษวิทยาและชีวเคมี กองวิชาการ ซึ่งต่อมาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจากประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี พ.ศ. 2538 ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ ระดับ 9 และเลขาธิการสภาคณาจารย์ ปี พ.ศ.2552 นับเป็นกำลังสำคัญของภาควิชาในด้านการเรียนการสอนวิชาพิษวิทยา รวมทั้งการให้บริการชันสูตรด้านพิษวิทยา นอกจากนี้ยังได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตปศุสัตว์ของคณะฯตั้งแต่ พ.ศ. 2547-2556 อ. อนงค์ ถึงวาระเกษียณอายุในตำแหน่งรองศาสตราจารย์ เมื่อปี พ.ศ. 2556
พ.ศ. 2540 – อาจารย์ ดร. ร.ท.หญิง สพ.ญ.เนาวรัตน์ สุธัมนาถพงษ์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจากประเทศญี่ปุ่น เคยรับราชการที่กรมการสัตว์ทหารบก และทำงานเป็นนักวิจัยในฝ่ายวิจัยและพัฒนายาของภาคธุรกิจก่อนเข้ารับราชการในตำแหน่งอาจารย์ ภาควิชาเภสัชวิทยา ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ระดับ 8 เป็นกำลังสำคัญของภาควิชาในด้านการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษา ดำรงตำแหน่งประธานหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชวิทยาทางสัตวแพทยศาสตร์ และผู้อำนวยการหลักสูตร สหสาขาวิชาเภสัชวิทยาในช่วงปี พ.ศ. 2555 – 2560 เป็นผู้ที่สนใจงานวิจัยเกี่ยวกับพิษวิทยา ซึ่งมีผลงานวิจัยตีพิมพ์รวมทั้งตำราวิชาการหลายเล่ม
พ.ศ. 2540 – อาจารย์ สพ.ญ.นิภัทรา (เทพวัลย์) สวนไพรินทร์ เข้ารับราชการซึ่งต่อมาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจากประเทศสหรัฐอเมริกา อ.นิภัทรา มีความเชี่ยวชาญในด้านเภสัชจลนศาสตร์ของยาในสัตว์รวมทั้งมีงานวิจัยในด้านการดื้อยาของยาปฏิชีวนะซึ่งได้รับทุนวิจัยจากแหล่งทุนทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ อ.นิภัทรา ยังได้รับเชิญเป็นวิทยากรบรรยายเรื่องเกี่ยวกับยาสัตว์และมีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติอย่างต่อเนื่อง นับเป็นกำลังสำคัญของภาควิชาในด้านการเรียนการสอนและงานวิจัยของนิสิตทั้งระดับปริญญาบัณฑิตและบัณฑิตศึกษา
พ.ศ. 2556 – อาจารย์ น.สพ.ดร.เจนภพ สว่างเมฆ เข้าปฏิบัติงานพนักงานมหาวิทยาลัย (อาจารย์ A-5) จบการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาเภสัชวิทยาทางสัตวแพทย์ และปริญญาเอก สาขาชีวศาสตร์ทางสัตวแพทย์ ณ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดินทางไปฝึกอบรมและทำวิจัยในโครงการ 2013 Fulbright Research Visiting Scholar ณ Department of Bioengineering, School of Medicine, University of Washington (UW), Seattle, USA และไปทำวิจัยในฐานะ 2017 Research Visiting Scholar ณ Department of Molecular and Regenerative Prosthodontics, Graduate School of Dentistry, Tohoku University, Sendai, Japan ศึกษาวิจัยด้าน “การแพทย์และเภสัชศาสตร์ฟื้นฟูโดยการใช้เซลล์ต้นกำเนิด” (Regenerative Medicine / Pharmacology using Stem Cell-based Therapy) เพื่อคิดค้นวิธีการนำเซลล์ต้นกำเนิดทั้งในส่วนของเซลล์ต้นกำเนิดจากการเหนี่ยวนำ (induced-pluripotent stem cells; iPSCs) และเซลล์ต้นกำเนิดในเนื้อเยื่อที่โตเต็มวัย (adult stem cells; ASCs) มาใช้ประโยชน์ในทางการสัตวแพทย์ (mainly focus on diabetes mellitus, eye diseases, and bone regeneration in veterinary practice) มีความสนใจด้าน clinical pharmacology ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ diabetes, pain management และ gastrointestinal drugs เป็นอาจารย์พิเศษและวิทยากรรับเชิญ รวมถึงกรรมการในหน่วยงานต่างๆ เช่น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สัตวแพทยสภา ชมรมผู้ใช้ยาและชีวภัณฑ์สำหรับสัตว์
บุคลากร

ผลงานวิจัย
ผศ.สพ.ญ.ดร.
นิภัทรา สวนไพรินทร์

ผลงานวิจัย
รศ.ดร.ร.ท.หญิง สพ.ญ.
เนาวรัตน์ สุธัมนาถพงษ์

ผลงานวิจัย
รศ.สพ.ญ.ดร.
ปิยะรัตน์ จันทร์ศิริพรชัยพร
รองศาสตราจารย์ สพ.ญ.ดร.
ปิยะรัตน์ จันทร์ศิริพรชัย
อาจารย์

ผลงานวิจัย
ผศ.น.สพ.ดร.เจนภพ สว่างเมฆ

กรณิศ พัฒนชัย
นางสาว
กรณิศ พัฒนชัย
เจ้าหน้าที่บริการวิทยาศาสตร์

นางสาวปิยะวรรณ เจริญเลิศกุล
นางสาว
ปิยะวรรณ เจริญเลิศกุล
เจ้าหน้าที่บริการวิทยาศาสตร์
ผลงานวิจัย
1. Chansiripornchi P and Chansiripornchai N. Successful treatment of demodicosisdue to Demodex cati in a cat using
spot – on formulation of fluralaner. Thai J Vet Med. 2021, 51(4): 789 – 793. (SCOPUS)
2. Chansiripornchai P and Chansiripornchai N. Treatment of generalized demodicosis ina dog using a single oral dose
of afoxolaner. Indian Vet J. 2019, 96(11): 66 – 67. (SCOPUS)
3. Kitipatra K, Yongsiri S, Sukana P, Chansiripornchai P and Kashemsant N. A casereport: phenobarbital – responsive
sialadenosis in a dog. Thai J Vet Med. 2019, 49(2): 197 – 201. (SCOPUS)
4. Chansiripornchai P and Chansiripornchai Long – term use of oclacitinib forthe control of pruritus in a geriatric
atopic dog. Pakistan Vet J. 2019, 39(2): 313 – 315. (SCOPUS)
5. Patthanachai K, Charoenlertkul P and Chansiripornchai P. Prevalence oforganophosphate insecticide poisoning in
dogs and cats: A 9 years retrospective study. Proceedings of CUVC 2019 Congress. Impact Forum, Impact
Muengthong thanee, Bangkok. April, 2019, 90 – 91.
6. Charoenlertkul P, Patthanachai K and Chansiripornchai P. Prevalence ofanticoagulant rodenticide poisoning in dogs
and cats submitted to the Faculty of Veterinary Science, Chulalongkorn University between 2008 – 2017.
Proceedings of CUVC 2018 Congress. Impact Forum, Impact Muengthong thanee, Bangkok. April, 2018, 79 – 80.
7. Yongsiri S, Charuwattanadilok P and Chansiripornchai P. Prevalence of felinecoronavirus antibody in 242 cats: A
retrospective study. Proceedings of VRVC 2018 Congress. Impact Forum, Impact Muengthong thanee, Bangkok.
July, 2018, 2 pp.
8. Chortip Sajjaviriya, Aranya Ponpornpisit, Nopadon Pirarat and Naowarat Suthamnatpong. Chronic toxicity of
monosodium glutamate on the reproductive system and some internal organs of zebrafish (Danio rerio). Thai
Journal of Veterinary Medicine. 2020. 49(4), 335-342.
https://www.proquest.com/openview/992552ecd02bcd19d3080197580eac0e/1?pq-origsite=gscholar&cbl=836355
9. Aranya Ponpornpisit, Nopadon Pirarat, Naowarat Suthamnatpong, Srisamran Jutanart, Yan Charnond, Kranboon
Yuttasak, Yusoontorn Wachira, Chortip Sajjaviriya. The effect of monosodium glutamate on sex differentiation in
zebrafish. ISWAVLD2019, Chiangmai, Thailand. 2019. 416-417.
10. Aranya Ponpornpisit, Chortip Sajjaviriya, Nopadon Pirarat, Naowarat Suthamnatpong. Comparison of 4 commercial
brands of MSG on hatching rate of zebrafish embryo (Danio rerio). Suriyaphol G. (ed) ISWAVLD2019, Chiangmai,
Thailand. 2019. 418-419.
11. Chortip Sajjaviriya, Aranya Ponpornpisit, Nopadon Pirarat, Naowarat Suthamnatpong. Effect of monosodium
glutamate on zebrafish (Danio rerio) reproduction. Suriyaphol G. (ed) ISWAVLD2019, Chiangmai, Thailand. 2019.
444-445.
12. Vasuntrarak K, Wittayalertpanya S, Wongtavatchai J, Suanpairintr N.Pharmacokinetics and pharmacokinetic
/pharmacodynamic-based dosing regimens of long-acting oxytetracycline in Nile tilapia (Oreochromis niloticus)
broodstock to minimize selection of drug resistance. Aquaculture.2022; 557.
(https://doi.org/10.1016/j.aquaculture.2022.738302.)
13. Nittayasut N, Yindee J, Boonkham P, Yata T, Suanpairintr N, Chanchaithong P.Multiple and High-Risk Clones of
Extended-Spectrum Cephalosporin-Resistant and blaNDM-5-Harbouring Uropathogenic Escherichia coli from Cats
and Dogs in Thailand. Antibiotics (Basel). 2021 Nov 10;10(11):1374. (SCOPUS)
14. Chueahiran S, Yindee J, Boonkham P, Suanpairintr N, Chanchaithong P.Methicillin-Resistant Staphylococcus aureus
Clonal Complex 398 as a Major MRSA Lineage in Dogs and Cats in Thailand. Antibiotics (Basel). 2021 Feb 28;10(3):
243. (SCOPUS)
15. Chayaratanasin P, Caobi A, Suparpprom C, Saenset S, Pasukamonset P,Suanpairintr N,Barbieri MA,Adisakwattana S.
Clitoria ternatea Flower Petal Extract Inhibits Adipogenesis and Lipid Accumulation in 3T3-L1 Preadipocytes by
Downregulating Adipogenic Gene Expression. Molecules. 2019 May 17;24(10). (SCOPUS)
16. Chanchaithong P, Prapasarakul N, Sirisopit Mehl N, Suanpairintr N, Teankum K, Collaud A, Endimiani A, Perreten V.
Extensively drug-resistant community-acquired Acinetobacter baumannii sequence type 2 in a dog with urinary
tract infection in Thailand. J Glob Antimicrob Resist. 2018 Jun;13:33-34. (SCOPUS)
17. Jariyapamornk N, Boonkham P, Yindee J, Chanchaithong P, Suanpairintr N. (2022). Minimum Inhibitory
Concentrations of Fosfomycin against Klebsiella pneumoniae from Dogs with Urinary Tract Infection. VRVC 2022:
The 14th VPAT Regional Veterinary Congress, Impact exhibition and convention center, Bangkok, 19-22 June 2022.
18. Le, Q. D., Rodprasert, W., Kuncorojakti, S., Pavasant, P., & Sawangmake, C.In vitro generation of transplantable
insulin-producing cells from canine adipose-derived mesenchymal stem cells. Scientific Reports, 2022, 12.1: 1-18.
19. Lohajaroensub, R., Sawangmake, C., Rodkhum, C., & Tuntivanich, N. Expression of Antimicrobial Peptide Genes in
the Canine Amniotic Membrane. Veterinary Sciences, 2022, 9.5: 200.
20. Torsahakul, C., Israsena, N., Khramchantuk, S., Ratanavaraporn, J., Dhitavat,S., Rodprasert, W., ...& Sawangmake,C.
Bio-fabrication of stem-cell-incorporated corneal epithelial and stromal equivalents from silk fibroin and
gelatinbased biomaterial for canine corneal regeneration. PloS one, 2022, 17.2: e0263141.
21. Purwaningrum, M., Jamilah, N. S., Purbantoro, S. D., Sawangmake, C., & Nantavisai, S. Comparative characteristic
study from bone marrow-derived mesenchymal stem cells. Journal of Veterinary Science, 2021, 22.6.
22. Kuncorojakti, S., Rodprasert, W., Le, Q. D., Osathanon, T., Pavasant, P., & Sawangmake, C. In vitro Induction of
Human Dental Pulp Stem Cells Toward Pancreatic Lineages. Journal of Visualized Experiments, 2021, 2021.175:
e62497.
23. Rodprasert, W., Nantavisai, S., Pathanachai, K., Pavasant, P., Osathanon, T., & Sawangmake, C. Tailored generation
of insulin producing cells from canine mesenchymal stem cells derived from bone marrow and adipose tissue.
Scientific reports, 2021, 11.1: 1-17.
24. Kuncorojakti, S., Rodprasert, W., Yodmuang, S., Osathanon, T., Pavasant, P., Srisuwatanasagul, S.,& Sawangmake,C.
Alginate/Pluronic F127-based encapsulation supports viability and functionality of human dental pulp stem cell-
derived insulin-producing cells. Journal of Biological Engineering, 2020, 14.1: 1-15.
25. Nantavisai, S., Pisitkun, T., Osathanon, T., Pavasant, P., Kalpravidh, C., Dhitavat, S., ... & Sawangmake, C. Systems
biology analysis of osteogenic differentiation behavior by canine mesenchymal stem cells derived from bone
marrow and dental pulp. Scientific Reports, 2020, 10.1: 1-18.
26. Sawangmake, C., Rodprasert, W., Osathanon, T., & Pavasant, P. Integrative protocols for an in vitro generation of
pancreatic progenitors from human dental pulp stem cells. Biochemical and Biophysical Research Communications,
2020, 530.1: 222-229.
27. Kuncorojakti, S., Srisuwatanasagul, S., Kradangnga, K., & Sawangmake, C. Insulin-producing cell transplantation
platform for veterinary practice. Frontiers in Veterinary Science, 2020, 7: 4.
28. Nantavisai,S., Rodprasert, W., Pathanachai,K., Wikran,P., Kitcharoenthaworn,P., Smithiwong, S., ... &
Sawangmake, C. Simvastatin enhances proliferation and pluripotent gene expression by canine bone marrow-
derived mesenchymal stem cells (cBM-MSCs) in vitro. Heliyon, 2019, 5.10: e02663.
29. Nantavisai, S., Egusa, H., Osathanon, T., & Sawangmake, C. Mesenchymal stem cell-based bone tissue engineering
for veterinary practice. Heliyon, 2019, 5.11: e02808.
30. Manokawinchoke, J., Pavasant, P., Sawangmake, C., Limjeerajarus, N., Limjeerajarus, C. N., Egusa,H.,& Osathanon, T.
Intermittent compressive force promotes osteogenic differentiation in human periodontal ligament cells by
regulating the transforming growth factor-β Cell death & disease, 2019, 10.10: 1-21.
31. Nantavisai, S., Rodprasert, W.,Pathanachai, K., Wikran,P., Kitcharoenthaworn,P.,Smithiwong, S., ...& Sawangmake, C.
Simvastatin enhances proliferation and pluripotent gene expression by canine bone marrow-derived mesenchymal
stem cells (cBM-MSCs) in vitro. Heliyon, 2019, 5.10: e02663.
32. Manokawinchoke, J., Pavasant, P., Sawangmake, C., Limjeerajarus, N., Limjeerajarus,C.N., Egusa, H.,& Osathanon, T.
RNA sequencing data of human periodontal ligament cells treated with continuous and intermittent compressive
force. Data in brief, 2019, 26: 104553.
33. Wallingford, M. C., Chia, J. J., Leaf, E. M., Borgeia, S., Chavkin, N. W., Sawangmake, C., ... & Giachelli, C. M. SLC20A2
deficiency in mice leads to elevated phosphate levels in cerbrospinal fluid and glymphatic pathway‐associated
arteriolar calcification and recapitulates human idiopathic basal ganglia calcification. Brain pathology, 2017, 27.1:
64-76.
34. SAWANGMAKE, C. Roles of Simvastatin on Proliferation and Osteogenic Differentiation Potential of Canine Bone
Marrow-derived Mesenchymal Stem Cells. 旭硝子財団助成研究成果報告 Reports of research assisted by the
Asahi Glass Foundation, 2017, 1-14.
35. Sawangmake, C., Nantavisai, S., Osathanon, T., & Pavasant, P. Osteogenic differentiation potential of canine bone
marrow-derived mesenchymal stem cells under different β-glycerophosphate concentrations in vitro. Thai J. Vet.
Med, 2016, 46.4: 617-625.
36. Lin, M. E., Chen, T. M., Wallingford, M. C., Nguyen, N. B., Yamada, S., Sawangmake, C., ... & Giachelli, C. M. Runx2
deletion in smooth muscle cells inhibits vascular osteochondrogenesis and calcification but not atherosclerotic
lesion formation. Cardiovascular research, 2016, 112.2: 606-616.
37. Osathanon, T., Sawangmake, C., Ruangchainicom, N., Wutikornwipak, P., Kantukiti, P., Nowwarote, N., & Pavasant, P.
Surface properties and early murine pre-osteoblastic cell responses of phosphoric acid modified titanium surface.
Journal of Oral Biology and Craniofacial Research, 2016, 6.1: 3-10.
38. Nowwarote, N., Sawangmake, C., Pavasant, P., & Osathanon, T. Review of the role of basic fibroblast growth factor
in dental tissue-derived mesenchymal stem cells. Asian Biomedicine, 2015, 9.3: 271-283.
39. Vivatbutsiri, P., Nowwarote, N., Sawangmake, C., Chareonvit, S., Pavasant, P., & Osathanon, T. Characterization of
femur, mandible and bone marrow-derived mesenchymal stromal cells from streptozotocin-injected mice. The Thai
Journal of Veterinary Medicine, 2014, 44.4: 477.
40. Sawangmake, C., Nowwarote, N., Pavasant, P., Chansiripornchai, P., & Osathanon, T. A feasibility study of an in vitro
differentiation potential toward insulin-producing cells by dental tissue-derived mesenchymal stem cells.
Biochemical and biophysical research communications, 2014, 452.3: 581-587.
41. Osathanon, T., Sawangmake, C., Nowwarote, N., & Pavasant, P. Neurogenic differentiation of human dental pulp
stem cells using different induction protocols. Oral diseases, 2014, 20.4: 352-358.
42. Sawangmake, C., Pavasant, P., Chansiripornchai, P., & Osathanon, T. High Glucose Condition Suppresses
Neurosphere Formation by Human Periodontal Ligament‐Derived Mesenchymal Stem Cells. Journal of Cellular
Biochemistry, 2014, 115.5: 928-939
43. Srichairat, S., Poungshompoo, S., & Sawangmake, C. Vascular protective and bone sparing effects of Pueraria
mirifica in ovariectomized rats. In: ACTA PHARMACOLOGICA SINICA. 2013. p. 29-29.
บริการตรวจสารพิษ
1. Warfarin and derivatives TLC,SP, ค่าบริการ 700 บาท
2. Organophosphates and Carbamates TLC ค่าบริการ 700 บาท
ข่าวสารและกิจกรรม

เว็บไซต์ภาควิชา

Veterinary Stem Cell and Bioengineering Innovation Center

งานวิจัย "เนื้อสุกรเพาะเลี้ยง" คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ

PN Podcast EP.1 - ทำความรู้จักยา Generic และ ยา Original

เลือกใช้ยาต้านปรสิตอย่างไรให้ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

สตาร์ทอัพจุฬาฯ พัฒนา stem cell | จุฬาปริทรรศน์

Vpeople : Stem cell - Cell แห่งความหวัง

6thANHPERF2019 - PL5 Panel discussion: Challenges in accreditation

รางวัลด้านการจัดการเรียนการสอนการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ | รายการสัตวแพทย์สนทนา

การพัฒนาการเรียนการสอนเรื่องการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลในหลักสูตรสัตวแพทยศาสตร์ | รายการสัตวแพทย์สนทนา

ชัวร์ก่อนแชร์ : ยาสำหรับสัตว์เลี้ยงที่ควรมีติดบ้าน จริงหรือ ?

VPN Topic โดย รศ.สพ.ญ.ดร.ปิยะรัตน์ จันทร์ศิริพรชัย
ที่ตั้ง
ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ถ.อังรีดูนังต์ แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
ติดต่อเจ้าหน้าที่
-
นางวารุณี พวงสุวรรณ
02 2189731
warunee.p@chula.ac.th